×

คำเตือน

JLIB_APPLICATION_ERROR_COMPONENT_NOT_LOADING

ปรัชญาของหลักสูตร

นวัตกรรมการจัดการมีความสำคัญในการสร้างกระบวนการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อมในแนวทางใหม่ๆ และเป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อการจัดการเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ด้านการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำนวัตกรรมการจัดการมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต
 

ความสำคัญ

“นวัตกรรม” หมายถึง แนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งต่างๆ ที่ใหม่ต่อตัวปัจเจก หรือหน่วยงานที่รับเอาสิ่งนั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งนวัตกรรมนั้นจะประกอบไปด้วย ๓ มิติที่สำคัญคือ
๑) มีความใหม่ สิ่งที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นนวัตกรรมนั้นต้องมีความใหม่ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นใหม่หรือเป็นการปรับปรุงจากของเดิมก็ได้ ทั้งในลักษณะที่เป็นผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ
๒) มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจที่อาจวัดได้เป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
๓) มีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานในการพัฒนานวัตกรรม
ซึ่งคำว่านวัตกรรมนั้นมีความแตกต่างจากประดิษฐกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ (Invention) เนื่องจากประดิษฐกรรมนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกแล้วแล้วเสร็จในด้านความคิดหรือผลิตภัณฑ์ ในขณะที่นวัตกรรมเป็นกระบวนการและการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่จะก้าวไปหลังจากนั้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงการคิดค้นสิ่งใหม่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการต่อยอดหรือการนำเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่ไปสู่ตลาดได้จริง
จากสถานการณ์ในปัจจุบันการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการขยายตัวและการแข่งขันด้านต่างๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม และธุรกิจการค้า อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันการพัฒนาประเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความต้องการทรัพยากรด้านต่างๆ มีเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรของโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กับจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและนับวันยิ่งลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญของปัญหาดังกล่าวคือ ขาดการบริหารจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม ทรัพยากรต่างๆ ถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่าความสมดุลของระบบนิเวศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอันดับแรก การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ยังส่งผลให้สังคมมุ่งเน้นความสำคัญในเรื่องของวัตถุนิยม มากกว่าการช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟู ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นขยายวงกว้างสู่สังคมทุกระดับ การต้องรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการแก้ไข ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมักมีความล่าช้าและแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชื่อว่า การนำนวัตกรรมการจัดการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เกิดกระบวนการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อมในแนวทางใหม่ๆ สามารถที่จะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากชุมชนซึ่งเป็นผู้ดำรงอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้เรียนรู้การนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของสังคม จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยมีมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากผลิตบัณฑิตที่เป็นรากฐานสำคัญของชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ ที่เน้นการประยุกต์ใช้ให้เกิดผล สร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและร่วมกันพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ที่สอดคล้องกับบริบททางสังคม ภายใต้ยุคสมัยของสังคมโลกาภิวัตน์ที่โลกทั้งโลกมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
ดังนั้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ด้านการจัดการ มาผสมผสานกับความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการจัดการและการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการศึกษาความรู้ด้านแนวคิด ทฤษฎี และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ จากการลงพื้นที่ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรมของชุมชน การถอดบทเรียนองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และการฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้บัณฑิตมองเห็นภาพความสลับซับซ้อนที่มีอยู่ในแต่ละสังคม และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศและในเขตภูมิภาคอินโดจีน
 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถ
    1. ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม
    2. เลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม
    3. ประยุกต์ใช้ทักษะที่จำเป็นเพื่อการทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
    4. ดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
    5. คิดเชิงประกอบการ (Entrepreneurial mindset)
    6. พัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
golden goose pas cher golden goose pas cher golden goose pas cher sac michael kors pas cher hogan outlet hogan outlet hogan outlet online hogan outlet replica michael kors replica michael kors outlet replica michael kors outlet replica michael kors outlet replica michael kors outlet sac goyard pas cher sac goyard pas cher sac goyard pas cher sac goyard pas cher sac goyard pas cher golden goose outlet golden goose outlet golden goose outlet outlet golden goose saldi outlet golden goose saldi nike tn pas cher tn pas cher louboutin pas cher louboutin pas cher